R U Ok

Informações:

Sinopsis

Episodios

  • RUOK69 ทำไมเราคาดหวังว่าคนที่รักจะตอบสนองสิ่งต่างๆ ให้ และยั้งความคิดอย่างไรไม่ให้ทำร้ายกัน

    07/02/2019 Duración: 19min

    หากถอดสมการให้เป็นภาพชัดๆ ความคาดหวัง = ความต้องการ หลายครั้งเราเลยเอาความต้องการของเราที่มีเป็นร้อยเป็นพันอย่าง ไปทาบทับคนอื่นโดยคาดว่าเขาจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้ โดยลืมไปว่าอีกฝ่ายคือมนุษย์คนหนึ่งที่มีความต้องการเป็นของตัวเองเหมือนกัน R U OK เอพิโสดนี้อยากให้ยั้งสักนิด ลองทบทวนตัวเองก่อนที่จะเอาความคาดหวังทั้งหมดที่มีของเราไปวางทาบคนอื่นโดยเฉพาะคนที่เรารัก พร้อมทั้งมี 2 คำถามง่ายๆ ที่ใช้ถามตัวเองก่อนที่ความหวังดีจะไปทำร้ายอีกฝ่าย Time index02:57 ความคาดหวังคือความต้องการ 03:37 เรามีความคาดหวังได้กับทั้งคนรอบข้างและตัวเอง04:45 ทำไมเราชอบคาดหวังกับคนใกล้ตัวหรือคนรัก05:59 ความต้องการที่ไปพาดอยู่บนตัวคนอื่นเรียกว่า ความคาดหวัง08:24 แม้แต่เพื่อนร่วมงานเราก็ยังคาดหวังให้เป็นอย่างที่เราต้องการ10:17 บางความคาดหวังไม่ได้เจตนาร้ายแต่มาจากคำสอนที่ยึดถือไว้ในใจ11:28 ทุกเสียงในหัวที่บอกว่าดี ไม่ได้ดีสำหรับทุกคนเสมอไป13:20 ความคาดหวังมีได้ แต่ให้ถามตัวเองด้วย 2 คำถามนี้

  • RUOK68 สำรวจเสียงของตัวเองที่ดังขึ้นในใจ ก่อนจะติดป้ายใครว่า Wanna be

    04/02/2019 Duración: 15min

    หลายครั้งที่เราเล่นโซเชียลมีเดียมักจะเห็นคอมเมนต์ทำนองว่าคนนั้นคนนี้ Wanna be บ้าง อยากดังบ้าง เพราะเรา ‘รู้สึก’ ว่าเขาเหล่านั้นพยายามและไม่ธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น แต่เคยสังเกตบ้างไหมว่าความรู้สึกของเราอาจไปแปะป้ายตัดสินเขาเหล่านั้นและมีสิทธิที่ไม่ตรงกับความจริง R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนสำรวจเสียงที่ดังขึ้นในใจ เวลารู้สึกว่าใครบางคนพยายามจนขัดธรรมชาติ เสียงของเราเป็นคำพูดประมาณไหน ทำไมมีแต่ด้านลบ และจริงๆ แล้วเรารู้สึกกับเขาเหล่านั้นอย่างไร อย่างน้อยเราจะได้ทันความคิดก่อนที่จะไปติดป้ายใครว่า Wanna be Time index02:26 ทำไมคำว่า Wanna be ถึงกลายเป็นคำที่ฟังดูลบ03:55 การ Wanna be เป็นสิทธิส่วนบุคคล04:43 การ Wanna be ที่มากเกินไปอาจผิดกับกาลเทศะ บุคคล สถานที่05:56 การ Wanna be อาจเป็นวัฒนธรรมตะวันตกที่ยังไม่เคยชินในสังคมไทย07:13 การตัดสินคนอื่นว่า Wanna be อาจมีความคิดเบื้องหลังว่าเขาคนนั้นไม่ควรทำอย่างนี้10:54 สิ่งควรทำกับไม่ควรทำของแต่ละคนไม่เท่ากัน11:20 ความต้องการยอมรับเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน13:59 ลองสังเกตความรู้สึกตัวเองเมื่อบอกว่าใครสักคน Wanna be

  • RUOK67 เฉยๆ ชาๆ อาจไม่ใช่การเบื่อหน่าย แต่กลายเป็นภาวะสิ้นยินดีที่ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

    31/01/2019 Duración: 20min

    เคยสังเกตกันไหมว่าเวลามีคำถามเชิงความรู้สึก หลายครั้งที่เราหาคำจำกัดความไม่ได้จึงตอบไปทำนองว่าเรื่อยๆ เฉยๆ จาก 1 เรื่องเป็น 2 เรื่องและค่อยๆ เป็นกับทุกเรื่องในชีวิต หลายครั้งมันว่างเปล่าจนรู้สึกว่าทุกข์เสียยังดีกว่ากับความเฉยชาต่อชีวิตแบบนี้ R U OK เอพิโสดนี้อยากชวนทุกคนสำรวจตัวเองว่าความรู้สึกเฉยๆ ที่หลายคนตอบจนติดปาก อาจไม่ใช่แค่ความเบื่อหน่าย หรือเซ็งชีวิต แต่มีโอกาสที่จะว่างเปล่าจนไม่รู้สึกอะไรคล้ายกับภาวะสิ้นยินดี ภาวะนี้มีลักษณะอย่างไร รวมถึงจะแก้ไขอย่างไรหากรู้สึกเฉยไปกับทุกอย่าง Time index01:34 ความรู้สึกเฉยๆ เกิดขึ้นได้กับทุกคน02:18 บางอารมณ์เกิดขึ้นเล็กน้อยแต่เราไม่ทันสังเกต03:29 อารมณ์ของมนุษย์เป็นดีกรี บางครั้งอาจมาเพียงบางๆ เลยไม่เห็นมัน05:35 ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) คืออะไร07:37 ภาวะสิ้นยินดีอาจมีความเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า11:19 เฉยกับนิ่งต่างกันอย่างไร14:25 ถ้ารู้สึกเฉยกับทุกสิ่งรอบตัวควรทำอย่างไร

  • RUOK66 กินแบบหยุดไม่ได้บางครั้งก็เป็นสาเหตุทางใจ จุกจนอาเจียนบ่อยแค่ไหนถึงไปพบจิตแพทย์ดี

    28/01/2019 Duración: 17min

    อาการทางกายกับความรู้สึกทางใจสัมพันธ์กันอย่างที่เราคาดไม่ถึง หลายพฤติกรรมที่เราเห็นจึงมีสาเหตุลึกๆ ซ่อนอยู่ภายในจิตใจ โดยเฉพาะการกินที่เราทำกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน บางครั้งก็ควบคุมตัวเองไม่ได้ กินจนเกินความต้องการจนบางครั้งอาเจียนออกมา R U OK เอพิโสดนี้จึงชวนไปสำรวจเหตุผลทางใจว่าทำไมถึงเกิดอาการกินแบบหยุดไม่ได้ ความรู้สึกอะไรที่ซ่อนอยู่หลังพฤติกรรมเหล่านี้ และหากอยากบำบัดรักษาจะมีโอกาสดีขึ้นไหม Time index01:44 ภาวะกินแบบหยุดไม่ได้ (Binge Eating Disorder)03:35 อาการของภาวะกินแบบหยุดไม่ได้04:11 การกินเป็นการตอบสนองทางใจได้เหมือนกัน05:27 ความแตกต่างของผู้หญิงช่วงมีประจำเดือนกับภาวะกินแบบหยุดไม่ได้06:27 การกินที่ผิดปกติอาจเกี่ยวข้องกับความเครียด หรือภาวะซึมเศร้าได้08:54 การกินเยอะผิดปกติอาจเป็นการเติมสิ่งที่ว่างภายในใจได้10:18 มนุษย์เรียนรู้การมีความสุขจากสัมผัสทางปากตั้งแต่เด็ก11:37 การกินที่ผิดปกติอาจมีความหลังตั้งแต่เด็กซึ่งผูกไว้กับความเป็นคนดีมีความรับผิดชอบ13:07 จิตบำบัดช่วยปรับความคิดและพฤติกรรมได้

  • RUOK65 บางครั้งครอบครัวคือที่มาของความรู้สึกไร้ค่า และหากรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการขึ้นมาควรจัดการอย่างไร

    24/01/2019 Duración: 17min

    ความรู้สึกไร้ค่า เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน เมื่อกำลังเผชิญสถานการณ์ที่รู้สึกว่าตัวเองสามารถเป็นประโยชน์หรือแสดงศักยภาพได้เต็มที่มากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น บางครั้งรู้สึกว่าเป็นพนักงานที่ไม่มีประโยชน์ต่อองค์กรเท่าที่ควร เป็นประชาชนที่ไม่สามารถขับเคลื่อนความเป็นไปของประเทศ หรือแม้แต่หน่วยเล็กๆ อย่างครอบครัวเราก็อาจรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการ แต่สำหรับบางคน ความรู้สึกไร้ค่าก็เกิดขึ้นบ่อยจนชวนให้สงสัย R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนสำรวจความไร้ค่าที่บางครั้งอาจมาจากเรื่องเล็กๆ ในครอบครัวที่มองข้าม แต่กลับส่งผลมากมายกับความรู้สึก พฤติกรรมที่ว่าคืออะไร และเราจะรู้เท่าทันตัวเองอย่างไรเมื่อเกิดความรู้สึกนี้ขึ้น Time index02:08 ความรู้สึกไร้ค่าแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมือนกัน03:47 ความรู้สึกไร้ค่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน04:25 ลึกๆ แล้วบางคนรู้สึกเป็นพนักงานที่ไม่ได้ทำประโยชน์ต่อองค์กร04:55 บางคนแสดงความรู้สึกไร้ค่าด้วยความคิดที่ว่าไม่ทำคนเดียวก็ไม่เห็นเป็นไร06:24 เด็กรับรู้ถึงคุณค่าผ่านเงินไม่ได้09:24 เด็กบางคนต้องแบกรับความรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่แคร์มาจนโต10:10 พื้นฐานของการอยู่ด้วยกันคือการสัมผัส ใส่ใจ และใช้

  • RUOK64 นิสัยชอบวิจารณ์มาจากไหน และจะบอกตัวเองอย่างไรให้ไม่พูดจนคนอื่นรู้สึกไม่ดี

    21/01/2019 Duración: 18min

    ทุกวันนี้เราอยู่ท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งคอมเมนต์ในโซเชียลมีเดีย ที่วิจารณ์กันตั้งแต่ทั้งเรื่องการบ้านการเมืองจนถึงเรื่องศิลปินดารา หรือแม้แต่ในชีวิตออฟไลน์อย่างการทำงานที่ออฟฟิศ เราก็เจอคำวิจารณ์ตั้งแต่เรื่องส่วนตัวยันเรื่องผลงาน ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ R U OK เอพิโสดนี้ชวนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำวิจารณ์ ที่พาลงลึกไปถึงนิสัยของคนที่ชอบวิจารณ์คนอื่น ว่าเบื้องหลังพฤติกรรมเหล่านี้มาจากไหน จนถึงร่วมกันหาคำตอบว่าการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์สามารถอย่างไร เพื่อสุดท้ายทำให้เกิดการพัฒนาและไม่มีใครถูกทำร้ายจากคำวิจารณ์ของเรา Time index01:27 ทุกวันนี้เราต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้02:17 การวิพากษ์เพื่อการพัฒนาและวิจารณ์เพื่อความบันเทิงของคนพูดต่างกันอย่างไร03:48 การวิจารณ์บางครั้งผู้พูดรู้สึกชอบธรรมในตัดสินอีกฝ่ายที่เป็นคนผิด05:00 วิจารณ์กับ Bully ต่างกันอย่างไร05:28 การให้ฟีดแบ็กที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและองค์กรทำอย่างไร07:23 การวิจารณ์หนัง เพลง ศิลปะ คือการวิจารณ์แบบไหน11:33 นิสัยชอบวิจารณ์คนอื่นมาจากไหน14:20 เสียงที่วิจารณ์คนอื่นคือเสียงเดียวกับเรื่องที่เราเพ็งเล็งในตัวเอง

  • RUOK63 ชักสีหน้าบ่อยๆ มองบนแบบไม่รู้ตัว ภาษากายเหล่านี้บอกอะไรและจะฝึกเก็บสีหน้าอย่างไรให้เหมาะสม

    17/01/2019 Duración: 18min

    ในการสื่อสาร หลายครั้งที่เห็นคู่สนทนาฝั่งตรงข้ามไม่ได้พูดอะไรแต่เรากลับสังเกตเห็นสัญญาณความไม่พอใจที่แสดงออกทางกายได้อย่างชัดเจน ทั้งกลอกตาสูง มุมปากที่บิดขึ้น หรือคิ้วที่ขมวดมุ่นอย่างไม่เห็นด้วย เลยชวนให้สงสัยว่าทำไมบางคนถึงเก็บสีหน้าไว้ไม่อยู่ หรือแม้แต่ตัวเราเองในบางครั้งก็เป็นเหมือนกันที่แสดงออกอย่างไม่รู้ตัว R U OK เอพิโสดนี้เลยเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ภายในจิตใจกับการแสดงออกทางกายว่าสัมพันธ์กันแค่ไหน ที่ชักสีหน้าหรือแสดงความไม่สบอารมณ์ตลอดเวลาเกิดจากอะไร หน้าเหวี่ยงแต่ภายในใจไม่รู้สึกอะไรจริงไหม และจะฝึกฝนอย่างไรให้เราแสดงสีหน้าออกมาได้เหมาะสมกับสถานการณ์และเหมาะคู่สนทนาที่กำลังสื่อสารด้วย Time index01:19 ภาษากายมีผลต่อการสื่อสารมากที่สุด02:01 ภาษากายคือภาษาแรกของมนุษย์ตั้งแต่เกิด04:11 ร่างกายกับจิตใจโกหกกันไม่ได้ แต่เราแสดงออกไม่ได้ในทุกโอกาส05:34 วิธีการฝึกควบคุมอารมณ์ สีหน้า และภาษากาย08:10 Shadow Movement การเคลื่อนไหวร่างกายที่เราไม่รู้ตัวเพราะเชื่อมโยงกับจิตใต้สำนึก อย่างกะกดปากกาหรือเขย่าขา11:50 การแสดงออกทางกายแบบไหนที่แสดงความไม่เห็นด้วย12:48 เรามีการควบคุมการจัดวางร่างกายแค่ไหน, เรามีสติเท่

  • RUOK62 ว่างๆ ชอบดึงผม เผลอๆ ชอบกัดเล็บ พฤติกรรมเหล่านี้สะท้อนสภาวะจิตใจอย่างไร และรักษาได้ไหม

    14/01/2019 Duración: 14min

    เชื่อหรือไม่ว่าพฤติกรรมบางอย่างที่เราแสดงออกมาอย่างไม่รู้ตัว ล้วนสะท้อนสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ R U OK เอพิโสดนี้เลยอยากชวนสำรวจตัวเอง บางคนดึงผมตอนเผลอๆ กัดเล็บตอนใจลอย รู้ตัวอีกทีก็เสียบุคลิกภาพ เบื้องหลังของพฤติกรรมเหล่านี้มาจากไหน และทำอย่างไรหากคนรอบข้างเผลอทำบ่อยๆ Time index01:31 พฤติกรรมดึงผม กัดเล็บล้วนสะท้อนปัญหาที่อยู่ภายในจิตใจ02:40 สาเหตุของพฤติกรรมดึงผมมาจากไหน03:40 โรคดึงผมแบบรู้ตัว04:30 การดึงผมสะท้อนภาวะความเครียดในจิตใจที่ยังจัดการไม่ได้05:40 โรคดึงผมแบบไม่รู้ตัว06:50 สาเหตุอื่นๆ ของโรคดึงผม10:49 ลองถามตัวเองถ้ารู้ตัวว่าขณะดึงผมคิดอะไรอยู่11:24 การตำหนิคนที่มีพฤติกรรมดึงผมยิ่งเพิ่มความเครียด12:13 เริ่มเตือนคนรอบข้างอย่างไรหากมีพฤติกรรมลักษณะนี้

  • RUOK61 ความรู้สึกไม่ไว้ใจคนอื่นมาจากไหน สำรวจความคิดอย่างไรให้ไม่มองโลกในแง่ร้ายไปเสียทั้งหมด

    10/01/2019 Duración: 16min

    ในโลกทุกวันนี้ที่เต็มไปด้วยอันตรายจากคำพูดและการกระทำ การจะไว้ใจใครสักคนดูเป็นเรื่องยาก แถมยิ่งเจอประสบการณ์ไม่ดีซ้ำๆ ก็อาจทำให้เราระแวงไปเลยก็ได้ R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนทำความเข้าใจว่าความรู้สึกไม่ไว้ใจคนอื่นจริงๆ แล้วมาจากไหน รวมถึงชวนสำรวจตัวเองไปพร้อมๆ กันว่า เสียงที่เราตัดสินคนอื่นว่าไม่น่าไว้ใจนั้น แท้จริงแล้วมาจากอะไร Time index03:04 ประสบการณ์และการรับรู้จากอดีตส่งผลในการไว้ใจคนอื่น04:17 ความไม่ไว้ใจบางครั้งก็แสดงออกของการบังคับให้คนอื่นทำตาม05:17 ความไม่ไว้ใจบางครั้งก็แสดงออกด้วยการคอมเมนต์วิถีของคนอื่น09:53 ลองถามตัวเองดีๆ เวลาไม่ไว้ใจคนอื่นว่าความคิดนั้นมาจากไหน12:53 ฝึกที่จะไว้ใจคนอื่นเพราะทั้งหมดคือทักษะที่พัฒนาได้

  • RUOK60 นอกจากเรื่องงาน เรา Burnout กับเรื่องอื่นได้ไหม สังเกตตัวเองอย่างไรก่อนข้างในไหม้จนไม่เหลือ

    07/01/2019 Duración: 20min

    เพิ่งเริ่มต้นปีหลายคนรู้สึกไม่อยากทำงาน แต่สำหรับบางคนเป็นมากกว่านั้นคือ เบื่อ หมดไฟ หมดแรงจูงใจในการทำงาน จนถึงกับเป็น Burnout Syndrome R U OK เอพิโสดนี้จึงพามาทำความรู้จักอาการ Burnout หรือหมดไฟว่าจริงๆ แล้วสามารถเป็นกับเรื่องอื่นนอกจากเรื่องงานได้ไหม ชีวิตส่วนตัวเครียดๆ ทำให้เราหมดอาลัยตายอยากได้หรือเปล่า รวมถึงจะสังเกตตัวเองอย่างไรก่อนข้างในตัวเราจะมอดไหม้จนไม่เหลือ Time index02:39 Burnout Syndrome คืออะไร03:27 Burnout Syndrome แสดงออกทั้งทางกาย ทางอารมณ์ และพฤติกรรม05:31 คนที่มีภาวะ Burnout อาจไม่รู้ตัวแต่เพราะหน้าที่และความรับผิดชอบ07:30 เราจัดการชีวิตได้เสมอ ไม่จำเป็นต้องแบกภาวะนี้ตลอดไป08:20 สาเหตุของการ Burnout จริงๆ คือความเครียดที่ไม่รู้ตัว10:43 การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องเข้าโหมดเครียดเสมอไป11:03 ไม่ใช่แค่เรื่องงานแต่ภาวะกดดันเรื่องส่วนตัวก็เกิดอาการ Burnout ได้12:40 จะเริ่มต้นจัดการตัวเองอย่างไรถ้ามีภาวะ Burnout

  • RUOK59 อยากสร้างนิสัยดีๆ ทำอย่างไร และจะต่อสู้อย่างไรกับข้ออ้างของตัวเอง

    03/01/2019 Duración: 19min

    ช่วงต้นปีแบบนี้หลายคนมักตั้ง New Year’s Resolutions ให้กับตัวเอง แต่ก็มักประสบปัญหาคือทำได้ไม่นานก็ล้มเลิก R U OK เอพิโสดนี้เลยอยากช่วยวางแผนให้ทุกคนทำปณิธานปีใหม่ให้สำเร็จ ตั้งแต่วิธีการเริ่มตั้งเป้าหมายให้ชัด ต่อสู้กับข้ออ้าง จนถึงการลงมือทำ เพราะทุกๆ พฤติกรรมของมนุษย์เมื่อปฏิบัติเป็นประจำ ก็สามารถกลายเป็นนิสัยดีๆ ที่เราต้องการได้เสมอ Time index02:14 ปีใหม่หลายคนอยากสร้างนิสัยดีๆ03:27 ทุกพฤติกรรม วิธีคิด และนิสัยเลิกและเปลี่ยนได้จริง06:14 พฤติกรรมที่อยากเลิกและอยากเริ่มในปีใหม่09:56 วางเป้าหมายแบบลงรายละเอียดจะทำให้สำเร็จมากขึ้น10:50 นิสัยใหม่สามารถสร้างได้โดยสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน13:38 เราต้องรู้ตัวเองว่าอยากได้ซัพพอร์ตจากคนอื่นแบบไหน15:23 ประเมินข้ออ้างของตัวเองล่วงหน้า

  • RUOK58 สำรวจพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เพื่อเริ่มต้นเป็นคนใหม่

    31/12/2018 Duración: 14min

    ปี 2018 ที่ผ่านมา พจนานุกรม Oxford ได้เลือกศัพท์คำว่า Toxic เป็นคำแห่งปี ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสารพิษหรือมลพิษเพียงเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงพฤติกรรมอันเป็นพิษของทั้งตัวเองและคนรอบข้าง หรือแม้แต่ข่าวลวง ข้อมูลที่ผิดก็ถือเป็น Toxic ด้วยเช่นกัน R U OK เลยถือโอกาสสวัสดีปีใหม่พร้อมชวนสำรวจ ‘Toxic’ ทั้งพฤติกรรมและความคิดอันไม่พึงประสงค์ของตัวเองว่ามีอะไรที่ควรแก้ไข เพื่อเริ่มต้นเป็นคนใหม่อย่างที่อยากเป็น Time index03:55 พฤติกรรม Toxic ที่เราไม่รู้ตัวอันดับแรกคือการนินทาคนอื่น05:15 พฤติกรรมชอบหาคนผิด07:10 พฤติกรรมบงการคนอื่น08:06 พฤติกรรมการแสดงตัวเองว่าตกเป็นเหยื่อ09:25 พฤติกรรมชอบมีข้ออ้างเสมอ11:25 พฤติกรรมกีดกั้นการสื่อสาร

  • RUOK57 ชุดคำถามไว้ทบทวนตัวเองตอนสิ้นปี ว่าปีนี้เป็นปีที่ดีไหม?

    27/12/2018 Duración: 22min

    สิ้นปีแบบนี้ หลายคนกำลังเฉลิมฉลอง เตรียมตัวพักผ่อน และหลายคนใช้โอกาสนี้ทบทวนตัวเองในปีที่ผ่านมา ทั้งเรื่องดีร้าย เหตุการณ์ประทับใจ รวมถึงสิ่งที่อยากทิ้งไปพร้อมปีเก่าๆ R U OK เอพิโสดนี้เลยชวน ปอนด์ ยาคอปเซ่น และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ โฮสต์ประจำรายการทั้ง 2 คนแชร์ประสบการณ์ในปีที่ผ่านมา ด้วยคำถามที่ไม่ว่าใครก็ปรับใช้เพื่อทบทวนตัวเอง Time index01:37 ให้รางวัลตัวเองในวันปีใหม่03:00 ปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์อะไรที่ประทับใจหรือให้บทเรียนแก่เราบ้าง11:53 อยากให้ปีหน้าเป็นปีของอะไร15:00 ชุดคำถามที่อยากให้ลองทบทวนตอนสิ้นปี

  • RUOK56 โลกส่วนตัวสูงกับ Introvert เหมือนกันไหม และจะอยู่ร่วมกันอย่างไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัว

    24/12/2018 Duración: 18min

    คนที่โลกส่วนตัวสูง มุมหนึ่งอาจน่าค้นหาและเป็นคนน่าสนใจ แต่อีกมุมหนึ่งอาจสงสัยเพราะไม่รู้ว่าเขากำลังคิดอะไร ไม่ชอบให้คนอื่นรู้เรื่องของตัวเอง และพื้นที่ความเป็นส่วนตัวกว้างกว่าคนทั่วไป R U OK เอพิโสดนี้จะชวนคุยถึงคนโลกส่วนตัวสูงที่ว่าเข้าถึงยากนั้น จริงๆ แล้วเบื้องหลังเขารู้สึกอย่างไร ใช่ Introvert เสมอไปไหม และเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปฏิสัมพันธ์จะทำอย่างไรให้ไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัวของกันและกัน Time index01:51 โลกส่วนตัวสูงคือคนมีพื้นที่ส่วนตัวทั้งกว้างและสูง04:14 พื้นที่ส่วนตัวแต่ละคนต่างกันตามประสบการณ์และวัฒนธรรม07:33 การละเมิดพื้นที่ส่วนตัวไม่ใช่เพียงการกระทำ แต่รวมทุกประสาทสัมผัส09:19 โลกส่วนตัวไม่ใช่เรื่องผิดแต่เป็นเรื่องที่ทุกคนควรเคารพ09:30 พื้นที่ส่วนตัวจะกว้างหรือแคบขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์11:14 คนโลกส่วนตัวสูงไม่ได้อยู่คนเดียวเสมอไปแต่ขึ้นอยู่กับความเชื่อใจ13:45 Introvert ไม่ได้โลกส่วนตัวสูงทุกคน14:59 เราจะอยู่ร่วมกันโดยเคารพพื้นที่ส่วนตัวกันและกันอย่างไร

  • RUOK55 เบื้องหลังของความรู้สึกน้อยใจคืออะไร และทำไมเราถึงไม่กล้าสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา

    20/12/2018 Duración: 20min

    ความรู้สึกหนึ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เด็กคืออาการน้อยใจ ตั้งแต่น้อยใจเพราะรู้สึกว่าพ่อแม่ปฏิบัติเราไม่เท่าพี่น้อง น้อยใจเพราะเพื่อนไปเล่นโดยไม่ชวน หรือน้อยใจเพราะรู้สึกว่าแฟนไม่เอาใจใส่ดูแล R U OK เอพิโสดนี้เลยพาไปสำรวจอารมณ์น้อยใจว่าจริงๆ แล้วเบื้องหลังของความรู้สึกนี้คืออะไร ใกล้เคียงกับโกรธและเศร้าไหม และหากน้อยใจจนเป็นนิสัยจะเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างไรให้รู้จักสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา Time index02:03 น้อยใจคือความรู้สึกที่เชื่อมโยงกับคุณค่า04:00 ทุกช่วงวัย ทุกความสัมพันธ์ก็อาจเกิดความน้อยใจได้05:48 บางครั้งคาดหวังให้คู่ชีวิตดูแลเราเหมือนพ่อแม่ แต่ผิดสมการ09:29 เราสามารถเติมความพอใจได้ด้วยตัวเอง10:49 ลองสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกจากความน้อยใจ11:21 ความประชดประชันจากความน้อยใจคือแรงผลักออก16:24 ถ้าเป็นคนขี้น้อยใจ จะจัดการอารมณ์ตัวเองอย่างไรดี

  • RUOK54 ช่วงนี้เรามีความสุขอยู่ไหม? สำรวจ แก้ไข และเข้าใจความต้องการของตัวเอง

    17/12/2018 Duración: 16min

    เคยเจอคำถามทำนอง ‘ช่วงนี้มีความสุขไหม?’ แล้วอึกอักตอบไม่ถูกบ้างหรือเปล่า แล้วเคยถามตัวเองไหมว่าเพราะอะไรเราถึงไม่กล้าพูดอย่างเต็มปากเต็มคำว่าตอนนี้เรามีความสุข R U OK จะชวนไปสำรวจตัวเองว่าทำไมเราถึงรู้สึกไม่มีความสุข ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทุกข์และดูเหมือนไม่มีสาเหตุอะไร ทำไมชีวิตถึงดำเนินไปได้แต่ละวันอย่างไร้จุดหมาย และเราจะเริ่มต้นอย่างไรถ้ารู้สึกว่าช่วงนี้ความสุขได้หายไปจากใจเรา Time index02:28 ชีวิตวนลูปของคนเมืองที่เหมือนเครื่องจักร03:58 ความสุขคือสิ่งต้องสร้างเองจากข้างใน06:30 ตอบความต้องการของตัวเองให้ได้ด้วยการ์ด 3 ใบ11:41 ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีความสุข13:37 ถ้าพบว่าตัวเองไม่มีความสุข จะเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  • RUOK53 เราลืมเรื่องที่ผ่านมาได้จริงๆ ไหม และจะอยู่ร่วมกันอย่างไรกับอดีตที่ไม่น่าจดจำ

    13/12/2018 Duración: 21min

    เราทุกคนล้วนมีอดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสมหวังหรือผิดหวัง แต่สำหรับอดีตบางเรื่อง แม้ว่าจะผ่านมานานเท่าไร กลับทำงานกับเราอยู่ตลอดเวลาราวกับเกิดขึ้นเมื่อวาน R U OK เอพิโสดนี้จะตอบคำถามว่าในทางจิตวิทยาแล้ว คนเราสามารถลืมอดีตได้จริงไหม และสำหรับอดีตที่เป็นทุกข์ที่ผุดขึ้นมาทำร้ายเราอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน จะจัดการมันอย่างไรให้อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข Time index02:08 เราเลือกจำมากกว่าที่เรารู้ตัว และเราเลือกลืมมากกว่าที่เรารู้ตัว09:13 จะอยู่ร่วมกับอดีตที่เจ็บปวดของตัวเองได้อย่างไร10:48 ยอมรับว่าเรื่องเหล่านั้นเกิดขึ้นกับเรา11:35 ย่อยอดีตด้วยการพูดถึงอย่างมีคนประคับประคอง14:04 เราเลือกกอดเฉพาะอดีตที่ดีเป็นไปไม่ได้ ตัวเราจะแหว่ง

  • RUOK52 จะใช้ชีวิตร่วมกันอย่างไรกับคนอีโก้ใหญ่คับบ้าน

    10/12/2018 Duración: 19min

    “คนนี้อีโก้สูงจะตายไม่ฟังใครหรอก” ประโยคลบๆ เกี่ยวกับ Ego (อีโก้) ที่ได้ยินกันจนชินหู แต่เคยตั้งคำถามไหมว่าจริงๆ แล้วอีโก้คืออะไร ข้อดีของอีโก้นั้นมีไหม R U OK เอพิโสดนี้เลยพาไปทำความรู้จักกับอีโก้ ที่มีกันอยู่ในทุกคน ว่าแท้จริงแล้วคำว่าอีโก้สูงที่มักใช้เรียกคนที่มั่นใจในความคิดของตัวเองจนไม่ฟังคนอื่น เหมือนหรือต่างอย่างไรกับการมีอีโก้ที่แข็งแรง และถ้าหากต้องใช้ชีวิตร่วมกับคนที่เอาความคิดเป็นศูนย์กลาง จะสื่อสารกันอย่างไรให้เข้าใจ Time index02:21 ID (อิด), EGO (อีโก้) และ SUPER EGO (ซูเปอร์อีโก้) คืออะไร04:15 อีโก้สูงคือคนที่มีพฤติกรรมแบบไหน05:04 คนที่มีอีโก้แข็งแรงเป็นแบบไหน12:59 คนที่อีโก้สูงกับอีโก้แข็งแรงอาจไม่เหมือนกัน14:10 ถ้าต้องใช้ชีวิตร่วมกับคนที่อีโก้สูงควรสื่อสารอย่างไร

  • RUOK51 เบื้องหลังคนดราม่าเล่นใหญ่ จริงๆ คือความรู้สึกแบบไหน แล้วจะสื่อสารอย่างไรให้เข้าใจกัน

    06/12/2018 Duración: 15min

    ดราม่าอาจเป็นสิ่งที่ใครหลายคนชอบเสพ แต่เมื่อเจอคนรอบตัวที่เล่นใหญ่ใส่จริงๆ อาจกลับรู้สึกอึดอัด ไม่เข้าใจ จนวางตัวไม่ถูกว่าจะจัดการอย่างไรให้คลี่คลาย R U OK เอพิโสดนี้เลยมาทำความเข้าใจพฤติกรรมที่ใครหลายคนบอกว่าแสนจะดราม่า ว่าเบื้องหลังแอ็กชั่นเหล่านั้นเขากำลังรู้สึกอย่างไร ทำไมถึงแสดงใหญ่ สาเหตุมาจากไหน และจะบอกความต้องการอย่างไรให้ไม่เหนื่อยใจและไร้ดราม่า Time index01:57 เพื่อนร่วมงาน คนรัก คนในครอบครัว ไม่ว่าใครก็ดราม่า03:04 พฤติกรรมดราม่ามาจากไหน จริงๆ แล้วรู้สึกอย่างไร08:06 ถ้ารู้สึกว่าดราม่ามันเหนื่อย จะแก้ไขอย่างไร10:29 สื่อสารอย่างไรให้เข้าใจกัน

  • RUOK50 ตอบปัญหาคาใจ: เหม่อลอยบ่อยๆ เป็นอะไรไหม? หน้าดุควรแก้อย่างไร? เพื่อนมีเสียงในหัวให้ไปทำร้ายคนอื่น ช่วยอย่างไรดี?

    03/12/2018 Duración: 22min

    ตลอดระยะเวลาการทำพอดแคสต์ R U OK มักมีฟีดแบ็กและคำถามต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดกับตัวเองและคนรอบข้าง เชิงคำถามว่าพฤติกรรมเหล่านี้ปกติไหม และจุดไหนที่ควรไปหาหมอ ในโอกาสที่เดินทางมาถึงเอพิโสดที่ 50 เราขอเลือก 3 คำถามที่น่าสนใจมาตอบในรายการ เผื่อผู้ฟังคนไหนเจอเหตุการณ์ที่ใกล้เคียงจะได้นับไปปรับใช้กับตัวเอง Time index01:57 นั่งเหม่อทั้งวันจนเสียการเสียงาน ควรไปหาหมอไหม05:46 บุคลิกดุโดยที่ไม่ตั้งใจ จะปรับอย่างไรดี13:56 เพื่อนมาปรึกษาว่ามีเสียงในหัวให้ไปทำร้ายคนอื่น ควรให้คำแนะนำอย่างไรดี

página 14 de 17